วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประเทศบาห์เรน







ข้อมูลทั่วไป

บาห์เรน (Bahrain) หรือชื่อทางการ ราชอาณาจักรบาห์เรน (Kingdom of Bahrain)เป็นประเทศเกาะที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอื่นในอ่าวเปอร์เซียเกาะบาห์เรนเชื่อมต่อกับซาอุดีอาระเบียซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกด้วยสะพานคิงฟาฮัด (เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529) ส่วนสะพานมิตรภาพกาตาร์-บาห์เรน ที่กำลังอยู่ในระหว่างวางแผนงานนั้นจะเชื่อมต่อบาห์เรนเข้ากับกาตาร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ และจะเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลกอีกทั้งบาห์เรนเป็นประเทศแรกในอ่าวอาหรับที่ขุดพบน้ำมันดิบ ในปี 2475 และมีการสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้น อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันดิบที่ขุดพบในบาห์เรนนับว่ามีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับคูเวตและซาอุดีอาระเบีย


พื้นที่ทั้งหมด 741 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิสูง ร้อนชื้น

การปกครอง ราชาธิปไตยกึ่งรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

ประมุขของประเทศ สมเด็จพระราชาธิบดีฮามัด บิน อิซา อัล คอลีฟะห์ (H.M. King Hamad bin Isa Al Khalifa)

นายกรัฐมนตรี เชคคอลีฟะห์ อิบน์ ซุลมัน อัลคอลีฟะห์

เมืองหลวง กรุงมานามา (Manama) เป็นเมืองท่าที่ใกล้ที่สุดสำหรับชาวประมงที่มีอาชีพดำน้ำหาไข่มุก และเป็นจุดพักระหว่างทาง ของเหล่าลูกเรือบรรทุกสินค้าที่ขนสินค้าจากประเทศอินเดียไปยังทวีปแถบแอฟริกา ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มีการขุดพบบ่อน้ำมันในเมืองมานามาแห่งนี้ส่งผลให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองจนเป็นที่สนใจของนักลงทุนและนักธุรกิจอย่างมากมาย

ประชากร 738,004 คน

โครงสร้างอายุ 0-14 ปี : 25.4%
15-64 ปี : 70.4%
65 ปีขึ้นไป : 4.2%

อายุเฉลี่ยของประชากรส่วนใหญ่ 30.4 ปี (ชาย:33.5 ปี และ หญิง:27.1 ปี)

เชื้อชาติ ชาวบาห์เรน 62.4%, อื่นๆ 37.6%

ภาษา อารบิค อังกฤษ ฟาร์ซี อิรดู (ภาษาอังกฤษก็ใช้กันอย่างกว้างขวาง)

ศาสนา อิสลาม (ชีอะห์และสุหนี่) 85% คริสต์เตียน 9 % และอื่นๆ 9.8%

การศึกษา ประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปสามารถอ่านออกเขียนได้คิดเป็นร้อยละ 86.5 ของประชากรทั้งหมด



ด้านการเมืองการปกครอง


1. บาห์เรนเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2514 หลังจากนั้น สมเด็จพระราชาธิบดีอิซา บิน ซัลมาน อัลคอลิฟะห์ ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองรัฐ (Emir) จนถึงปี 2542 และสมเด็จพระราชาธิบดีฮามัด บิน อิซา อัลคอลิฟะห์ เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2542 สืบต่อจากพระราชบิดาซึ่งเสด็จสวรรคต ต่อมา สมเด็จพระราชาธิบดีฮามัด บิน อิซา อัลคอลิฟะห์ ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และทรงเปลี่ยนชื่อประเทศจากรัฐบาห์เรน (State of Bahrain) เป็นราชอาณาจักรบาห์เรน (Kingdom of Bahrain) ในปี 2545
2. ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ เชคคอลิฟะห์ บิน ซัลมาน อัล คอลิฟะห์ (Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa) ซึ่งเป็นพระปิตุลาของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบาห์เรน รัฐสภาบาห์เรนประกอบด้วย สภาที่ปรึกษา (Shura Council) เทียบเท่าวุฒิสภา จำนวน 40 คน แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ และสภาผู้แทนราษฎร (Nuwwab Council) จำนวน 40 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ การตัดสินใจทางการเมืองการปกครองขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์และนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ สมาชิกพระราชวงศ์อัลคอลิฟะห์ ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะกระทรวงด้านความมั่นคง เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น
3. รัฐบาลบาห์เรนได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง และพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ภายในประเทศ โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2545 บาห์เรนได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี
4. การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 ของบาห์เรน มีขึ้นเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2549 และมีการเลือกตั้งซ่อมในบางเขตเลือกตั้ง เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2549 โดยสมาคมการเมือง Al Wefaq Society ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านเคร่งศาสนาอิสลามนิกายชีอะต์ที่ได้คว่ำบาตรการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก ได้รับเลือกตั้งถึง 17 ที่นั่ง จาก 40 ที่นั่ง
5. ด้านการทหาร กองทัพบาห์เรนมีกำลังพล 11,200 คน เป็นทหารบก 8,500 คน ทหารเรือ 1,200 คน ทหารอากาศ 1,500 คน ทั้งนี้ การที่บาห์เรนเป็นประเทศเล็กและมีกำลังพลจำกัด จึงพึ่งพาประเทศสมาชิก อื่นๆ ในคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council – GCC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งซาอุดีอาระเบีย ในการป้องกันประเทศ

นโยบายต่างประเทศ

บาห์เรนเป็นประเทศอาหรับที่ดำเนินนโยบายสายกลาง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ใน GCC โดยเฉพาะอย่างยิ่งซาอุดีอาระเบีย ซึ่งให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และคูเวต นอกจากกลุ่มประเทศ GCC แล้ว บาห์เรนยังมุ่งกระชับความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกในกลุ่มสันนิบาตอาหรับ (League of Arab States หรือ Arab League) เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
ในด้านความสัมพันธ์กับอิหร่านมีแนวโน้มที่ดีขึ้น นับตั้งแต่นาย Mohammed Khatami ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่านเมื่อปี 2540 ทั้งนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีฮามัดได้เสด็จฯ เยือนอิหร่านเมื่อปี 2545 ซึ่งนับเป็นการเยือนอิหร่านครั้งแรกของพระประมุขบาห์เรนตั้งแต่การปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน (Islamic Revolution) เมื่อปี 2522 อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่นาย Mahmoud Ahmadinejad สมาชิกกลุ่มการเมืองหัวรุนแรงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่านในเดือนมิถุนายน 2548 บาห์เรนได้ดำเนินความสัมพันธ์กับอิหร่านในลักษณะระมัดระวังมากขึ้น
สำหรับความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก บาห์เรนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร บาห์เรนเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือที่ 5 ของสหรัฐอเมริกา (The Fifth Fleet) บาห์เรนสนับสนุนสหรัฐอเมริกาในการส่งกองกำลังทหารเข้าไปในอัฟกานิสถานและได้รับสถานะ Major Non-NATO Ally (MNNA) ในปี 2545 นอกจากนี้ บาห์เรนยังเป็นประเทศแรกในตะวันออกกลางที่เจรจาจัดทำ FTA กับสหรัฐอเมริกาเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบาห์เรนได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ แสดงความมุ่งมั่นของรัฐบาลบาห์เรนที่จะส่งเสริมความร่วมมือในการต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มก่อการร้าย เรียกร้องให้อิสราเอลถอนกองกำลังจากเลบานอนและประเทศอาหรับทุกประเทศ สนับสนุนการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์เป็นประเทศเอกราช สนับสนุนความร่วมมือในการทำให้ภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นเขตปลอดจากอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้สะท้อนถึงภูมิศาสตร์ทางการเมืองในปัจจุบัน


เศรษฐกิจการค้า

เศรษฐกิจ - ก่อนการค้นพบน้ำมัน เศรษฐกิจของบาห์เรนขึ้นอยู่กับไข่มุก การค้าและการประมง แต่หลังจากปี ค.ศ. 1932 ซึ่ง เป็นปีที่มีการค้นพบน้ำมันภายในประเทศ น้ำมันก็กลายเป็นที่มาของรายได้สำคัญซึ่งได้ถูกนำไปใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม จากการที่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำรองของบาห์เรนมีจำนวนน้อย และคาดกันว่าจะหมดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จึงได้มีการสำรวจหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแหล่งอื่นเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเปลี่ยนแนวเศรษฐกิจของประเทศไปเป็นธุรกิจการกลั่นน้ำมันและการทำ ให้บาห์เรนเป็นจุดศูนย์กลางทางด้านการค้าและธุรกิจของภูมิภาคอีกด้วย และตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา บาห์เรนได้ดำเนินนโยบายที่จะกระจายแหล่งรายได้ของประเทศออกไปจากน้ำมันโดยมี การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม - บาห์เรน ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของธุรกิจบริการ กล่าวคือ ด้านการเงินและการธนาคารของภูมิภาคอ่าวอาหรับ นโยบายของรัฐบาลบาห์เรนจึงมุ่งไปที่การรักษาสถานะของประเทศให้เป็นศูนย์กลาง การค้าเสรี และภาคบริการของภูมิภาค แข่งกับสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ด้วยการส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติ รักษาเสถียรภาพการเมืองภายในประเทศให้มั่นคง และรัฐบาลบาห์เรนได้เปิดระบบการธนาคารอิสลามระหว่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้บริการทางการเงินในต่างประเทศด้วยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544

อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.1

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 19.59 พันล้าน USD

รายได้ประชาชาติต่อหัว 38,400 USD

อัตราการเติบโต GDP 2.9%

GDP แยกตามภาคการผลิต ภาคการเกษตร 0.5% ภาคอุตสาหกรรม 56.6% ภาคการบริการ 42.9%

ปริมาณน้ำมันสำรอง 125 ล้านบาร์เรล

ปริมาณก๊าซสำรอง 92.03 พันล้าน ลบม.

ปริมาณการผลิตน้ำมัน 217,000 บาร์เรล/วัน

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ทรัพยากรทะเล ไข่มุก

สกุลเงิน บาห์เรนดีนาร์ (BHD) (1 BHD: 90-100 บาท)

อุตสาหกรรม การผลิตและกลั่นน้ำมัน อะลูมิเนียม ปุ๋ย

สินค้านำเข้าสำคัญ น้ำมันดิบ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์

สินค้าส่งออกสำคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำมันกลั่น อะลูมิเนียม สิ่งทอ

ตลาดนำเข้าสำคัญ ซาอุดีอาระเบีย ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา

ตลาดส่งออกสำคัญสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น


สังคมและวัฒนธรรม

ผู้คนในประเทศบาห์เรนนี้คือชาวอารบิก ที่ยังคงดำรงสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นพิพิธภัณฑ์ทางโบราณคดี มัสยิดที่จะเห็นได้ง่ายๆ ตามสถานที่ต่างๆ ของเมือง บาห์เรนเป็นราชอาณาจักรเล็กๆ ที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอารเบียนถึงแม้ว่าจะเป็นประเทศเล็กๆแต่ก็ประสบผลสำเร็จ ทางธุรกิจ และการพัฒนาทางสังคม ในระดับสูงเห็นได้จากถนนหนทางที่มีหลายเลนสะพานข้ามเกาะไปยังประเทศซาอุดิอารเบียหรือสิ่งก่อสร้างต่างๆที่ทันสมัยในยุคแห่งสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจไข่มุกแห่งคาบสมุทรอารเบียนยังคงส่องแสงประกายเจิดจรัสต่อไปเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตในทางที่ดีขึ้น มีแนวทางในการดำรงชีวิตที่ถูกต้องตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามุ่งทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำใจให้ผ่องใส

การแต่งกาย

ทำไมอิสลามจึงลดฐานะผู้หญิงลงด้วยการเก็บพวกเธอไว้เบื้องหลังผ้าคลุมหน้า ?
ตอบ: ฐานะของผู้หญิงในอิสลามมักจะตกเป็นเป้าโจมตีโดยสื่อสารมวลชนในแนวเซ็คคิวลาร์(แนวคิดแยกศาสนาออกจากการเมือง)อยู่เสมอ “ฮิญาบ” หรือเครื่องแต่งกายตามแบบอิสลามได้ถูกกล่าวถึงว่าคือตัวอย่างหนึ่งที่เป็น “การปราบ” ผู้หญิงให้สยบอยู่เยี่ยงทาสภายใต้กฎหมายอิสลาม

ฮิญาบสำหรับผู้หญิง

อายะฮฺ ถัดไปในซูเราะฮฺอันนูร กล่าวว่า “และจงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) แก่บรรดามุอฺมินะฮฺให้พวกเธอลดสายตาของพวกเธอลงต่ำ และให้พวกเธอรักษาทวารของพวกเธออย่าเปิดเผยเครื่องประดับของพวกเธอเว้นแต่สิ่งที่พึงเปิดเผยได้และให้เธอปิดด้วยผ้าคลุมศีรษะของเธอลงมาถึงหน้าอกของเธอและอย่าให้เธอเปิดเผยเครื่องประดับของพวกเธอเว้นแต่แก่สามีของพวกเธอหรือบิดาของพวกเธอหรือบิดาของสามีของพวกเธอหรือลูกชายของพวกเธอ...”

มาตรฐาน 6 ประการสำหรับฮิญาบ

ตามกุรอานและซุนนะฮฺ มีเกณฑ์มาตรฐานเบื้องต้น 6 ประการสำหรับการปฏิบัติตามเงื่อนไขของฮิญาบ

1 เอาเราะฮฺ หรือขอบเขตของร่างกายที่ต้องปกปิด
เกณฑ์แรกคือขอบเขตของร่างกายที่ต้องปกปิด (เอาเราะฮฺ) ซึ่งต่างกันระหว่างชายกับ หญิง เอาเราะฮฺของผู้ชายอย่างน้อยต้องอยู่ระหว่างสะดือกับเข่า สำหรับผู้หญิงเอาเราะฮฺคือทุกส่วนของร่างกายยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ หรือหากเป็นความประสงค์ของพวกเธอก็สามารถปกปิดส่วนของร่างกายส่วนนี้ (ใบหน้าและมือ) ด้วยก็ได้ นักวิชาการอิสลามบางท่านยืนยันหนักแน่นว่าใบหน้าและมือก็เป็นส่วนของร่างกายที่ต้องปกปิดด้วยเช่นกัน

อีก 5 เกณฑ์ที่เหลือนั้นเหมือนกันทั้งสำหรับผู้ชายและผู้หญิง

2 ชุดที่สวมใส่ต้องหลวมและต้องไม่เปิดเผยให้เห็นรูปร่าง
3 ชุดที่สวมใส่ต้องไม่บางจนมองทะลุผ่านได้
4 ชุดที่สวมใส่ต้องไม่งามหรือมีเสน่ห์จนเป็นที่ดึงดูดใจของเพศตรงข้าม
5 ชุดที่สวมใส่ต้องไม่คล้ายคลึงกับของเพศตรงข้าม
6 ชุดที่สวมใส่ต้องไม่คล้ายคลึงกับของบรรดาผู้ปฏิเสธ พวกเขาจะต้องไม่สวมใส่ชุดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะหรือสัญลักษณ์ในศาสนาของบรรดาผู้ปฏิเสธ
โดยหลักธรรมชาติ ทันทีที่บทบัญญัติของอิสลามถูกนำมาปฏิบัติผลลัพธ์ในทางที่ดีย่อมบังเกิดอย่างแน่นอน หากบทบัญญัติของอิสลามได้รับการยอมรับและนำไปปฏิบัติในทุกส่วนของโลกไม่ว่าในอเมริกาหรือยุโรป สังคมก็จะหายใจอย่างโล่งอก ฮิญาบไม่ได้ลดฐานะของผู้หญิงหรือทำให้ผู้หญิงอยู่ในสภาพที่น่าอับอายแต่ฮิญาบช่วยเชิดชูผู้หญิงช่วยปกป้องความสงบเสงี่ยมสง่างามและพรหมจรรย์ของเธอ

อาหารของชาวอาหรับ

อาหารฮาลาล คืออะไร?
ความหมายของอาหารฮาลาล
อาหารฮาลาล หมายถึง อาหารหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารซึ่งผลิตขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม มุสลิมสามารถบริโภคได้ โดยคำนึงถึงความสะอาด มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ

ข้อกำหนดในการผลิตอาหารฮาลาล
1. วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การบรรจุ การรักษาจะต้องฮาลาลทุกขั้นตอน
2. สถานที่ผลิตอาหารฮาลาลจะต้องไม่ปะปนกับการผลิตอาหารที่หะรอม(ห้ามมุสลิมบริโภค) ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียม การผลิต กระบวนการผลิต และการเก็บรักษา
3. เครื่องจักร เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมการผลิต กระบวนการผลิต การขนส่งและการเก็บรักษาจะต้องสะอาดตามหลักการของศาสนาอิสลาม
4. เนื้อสัตว์ พืช เครื่องดื่มที่ไม่อนุญาตให้นำมาประกอบเป็นอาหารฮาลาล สุกร สุนับ หมูป่า งู ลิง สัตว์กินเนื้อเป็นอาหารและมีเล็บ เช่น สิงโต เสือ หมี เป็นต้น
5. วิธีการเชือดหรือฆ่าสัตว์
5.1 คนเชือดต้องเป็นมุสลิมและมีความรู้เกี่ยวกับการเชือดสัตว์ตามหลักศาสนา
5.2 เป็2นสัตว์ที่อิสลามกำหนดให้เชือดได้
5.3 เป็นสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ขณะที่เชือด
5.4 ขณะเชือดต้องให้หัวของสัตว์หันไปทางกิบลัต (สำหรับประเทศไทยคือทิศตะวันตก)
5.5 ผู้เชือดต้องกล่าวว่า “บิสมิ้ลลาห์”(ด้วยพระนามของอัลลอฮ) ก่อนลงมือเชือด
5.6 มีดที่ใช้เชือดต้องคมและต้องเชือดจนเสร็จสิ้นโดยไม่ดึงมือออก

McDonald กับอาหารฮาลาล
McDonald กับเจ้าของแฟรนไชส์ในท้องถิ่นเข้าใจดีว่าต้องปรับแต่งสารที่สื่อออกไป โฆษณาที่เผยแพร่ในตลาดอาหรับจะถูกทำขึ้นใหม่โดยเฉพาะ เน้นสื่อด้วยภาพมากกว่าถ้อยคำ โดยนำเสนอภาพของครอบครัวหนุ่มสาวที่พาลูกๆ มากินอาหาร ทุกคนล้วนแต่งกายแบบอาหรับตามประเพณี ภาพเหล่านี้สะท้อนค่านิยมในสังคมอาหรับที่ให้คุณค่าแก่สถาบันครอบครัวและรักษาประเพณีอย่างเคร่งครัด ส่วนตัวหนังสือในโฆษณาก็จะเน้นย้ำว่าเนื้อสัตว์ที่ใช้ทำอาหารในร้านถูกหลักฮาลาล และเป็นเนื้อคุณภาพดี 100% ไม่มีสารปรุงแต่งและสารกันบูดด้วย โฆษณานี้แสดงให้เห็นว่า McDonald เข้าใจดีว่าในอาหรับเน้นอาหารที่ดีต่อสุขภาพและต้องมีเครื่องหมายฮาลาลด้วย

ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในตลาด GCC คือ McDonald แม้จะเป็นอาหารสัญชาติอเมริกัน แต่ McDonald ประสบความสำเร็จในตลาดทั่วโลก เพราะมักจะปรับสูตรอาหารให้ถูกปากคนในท้องถิ่นเสมอ สำหรับผู้บริโภคในกลุ่มประเทศ GCC เมนูที่ McDonald คิดขึ้นมาคือแม็คอาระเบีย McArabia ซึ่งเป็นแซนด์วิชทำจากไก่ย่าง ห่อด้วยขนมปังแบบอาหรับ แต่งด้วยผักกาดหอม หัวหอม และมะเขือเทศ ราดด้วยซอสโยเกิร์ตตาฮินี กล่าวกันว่าแม็คอาระเบียเป็นการผสมผสานระหว่าง บิ๊กแม็คกับแซนด์วิชชาวาร์มา ที่คนท้องถิ่นกินกันเป็นประจำ


การตลาดในชาติอาหรับ
กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะใช้ในภูมิภาคนี้ไม่ได้มีเพียงคำตอบเดียว แต่หลักสำคัญคือคุณต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและความต้องการของคนเหล่านี้ ต้องเข้าใจว่าทำอย่างไรจึงจะนำเสนอความต้องการนั้นในวิถีทางที่สอดคล้องกับท้องถิ่น ธุรกิจข้ามชาติชั้นนำของโลกมักจะใช้บริการของบริษัทข้ามชาติอีกแห่งที่มีสำนักงานในท้องถิ่นอยู่แล้ว อาจเป็นบริษัทการตลาดหรือบริษัทโฆษณา บริษัทเหล่านี้จะศึกษาข้อมูลแวดล้อม และขัดเกลาสารของคุณ บริษัทการตลาดในภูมิภาคอาจรับผิดชอบการจัดจำหน่ายในท้องถิ่น แต่คุณจะต้องเข้าใจตลาดด้วยตัวเอง กลยุทธ์ที่เข้มแข็งขึ้นอยู่กับความเข้าใจผู้บริโภคอย่างถ่องแท้ และการเสนอขายที่ทำให้ผู้บริโภคเห็นประโยชน์และความแตกต่างจากคู่แข่ง ดังนั้นทางเลือกดีที่สุดของคุณคือ ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับภูมิภาคนั้นโดยเฉพาะ

การสื่อสารในชาติอาหรับ
ขณะที่การตลาดเฉพาะถิ่นมีความสำคัญ การสื่อสารทางการตลาดในชาติอาหรับกลับมีความซับซ้อนยิ่งกว่า ในหลายกรณี การประยุกต์ตามความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็มีหลายกรณีที่ไม่จำเป็นต้องปรับเลย อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปในเรื่องการสื่อสารถึงผู้บริโภคแถบนี้ จากการสำรวจพบว่ามีรูปแบบการประยุกต์ให้เข้ากับบริบทท้องถิ่นอยู่ 4 ระดับด้วยกัน
การประยุกต์ระดับแรกคือ ไม่ปรับแต่งเลย เป็นวิธีง่ายที่สุด ส่วนใหญ่เป็นสินค้าและบริการที่มีแบรนด์รู้จักกันทั่วโลก และมักจะใช้รูปแบบการสื่อสารอย่างเดียวกันในทุกตลาด ส่วนการปรับสารระดับที่ 2 คือการปรับแต่งข้อความ เป็นวิธีการที่มีการใช้กันมากที่สุด วิธีนี้เป็นการเลือกใช้ภาษาอาหรับ ปรับแต่งดนตรี และคำโฆษณาให้เข้ากับท้องถิ่น แต่ผลิตภัณฑ์ยังคงเดิม การปรับแต่งระดับที่ 3 คือ การปรับรายการสินค้าและบริการ คือการขายผลิตภัณฑ์ในประเทศอาหรับเช่นเดียวกับที่ขายในตลาดอื่นๆ แต่เปลี่ยนรายการสินค้าเพื่อเน้นรายการที่ดึงดูดผู้ซื้อในกลุ่มประเทศอาหรับ ส่วนการประยุกต์ระดับสุดท้าย คือการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับตลาดอาหรับโดยเฉพาะ การที่จะเลือกใช้ระดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน เพราะประยุกต์แต่ละระดับมีข้อดีข้อด้อยต่างกัน

ขายโดยไม่ใช้ภาษาอาหรับ
สำหรับตลาดในกลุ่มประเทศอาหรับในอ่าวเปอร์เซีย มีสินค้ากลุ่มหนึ่งที่สามารถขายได้โดยไม่ต้องใช้โฆษณาภาษาอาหรับ ได้แก่ สินค้าฟุ่มเฟือยสำหรับตลาดบน เช่น น้ำหอม กระเป๋าถือ เครื่องเพชร คุณจะพบโฆษณาสินค้าเหล่านี้ในนิตยสารสำหรับผู้หญิงโดยใช้ภาษาฝรั่งเศสหรืออังกฤษเหตุผลหนึ่งที่คงความเป็นต่างชาติไว้นั้น เป็นเพราะแบรนด์นั้นมีความเป็นสากลและมีระดับ สิ่งที่สินค้าต้องการนำเสนอคือความงามและความเป็นเลิศอย่างยุโรป การใช้ภาษาอาหรับอาจทำให้ความมีระดับดูด้อยลง และลดภาพของความเป็นยุโรปไป ตัวอย่างอื่นได้แก่ บริการด้านการเงิน ซึ่งต้องอยู่ในบริบทของการให้บริการธนาคารส่วนบุคคลและการจัดการทรัพย์สิน องค์กรที่ให้บริการเหล่านี้ต้องการเน้นย้ำความเป็นสากล ระบบที่ใช้ทั่วโลก และมาตรฐานสากล ดังนั้นจึงเลือกที่จะใช้ภาษาอังกฤษในโฆษณาเพื่อเน้นย้ำการวางตำแหน่งแบรนด์

สำหรับการสื่อสารผ่านโฆษณาบนสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และวิทยุ วิธีง่ายที่สุดคือ นำโฆษณาที่ทำขึ้นสำหรับใช้ร่วมกันทั่วโลกมาแปลเป็นภาษาอาหรับ โดยทั่วไปถือว่าวิธีนี้มีประสิทธิภาพที่สุดในการรักษาความสม่ำเสมอในการสื่อสารแบรนด์ ธุรกิจที่ลงทุนมากกับการรักษาภาพลักษณ์ให้เหมือนกันทั่วโลกอย่าง ธนาคาร HSBC และ McDonald จะใช้คำสโลแกนเหมือนกับที่ใช้ทั่วโลก เพียงแต่แปลเป็นภาษาอาหรับ ส่วน Coca Cola และ Pepsi จะใช้ดารา นักร้องที่เป็นคนในท้องถิ่น เพื่อทำโฆษณาที่นำเสนอภาพลักษณ์ของแบรนด์ ในภาษาและดนตรีอาหรับ อย่างไรก็ตาม นอกจากการแปลภาษา การใช้ดารานักร้อง และดนตรีท้องถิ่นอาจยังไม่พอ

ของต้องห้ามในโฆษณา
ศาสนา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนในชาติอาหรับเป็นประเด็นที่นักโฆษณาต้องใส่ใจเป็นพิเศษ จากการสำรวจและวิเคราะห์โฆษณาที่เผยแพร่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตพบว่า โฆษณากว่าครึ่งหนึ่งทำขึ้นเพื่อสื่อสารกับผู้หญิง และส่วนใหญ่เป็นการขายสินค้าหรูอย่างเพชรพลอยและเครื่องสำอาง สิ่งที่จะต้องไม่มีเด็ดขาดในโฆษณาคือ การเปิดเผยเนื้อตัวมากเกินไปของนางแบบ ไม่ว่าจะโฆษณาสินค้าใดก็ตาม นางแบบต้องสวมชุดยาว เรียบร้อย ถ้าเป็นโฆษณาในประเทศซาอุดิอาระเบีย ยิ่งต้องระวังเรื่องการแต่งกายมากกว่าประเทศอื่นๆ ของ GCC การใช้นางแบบสวมชุดยาวนอกจากเพื่อให้ผ่านการตรวจสอบของทางการแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายในท้องถิ่นได้มากกกว่า เพราะพวกเธอเหล่านั้นก็สวมชุดยาวด้วยเหมือนกัน สำหรับแบรนด์ Coty ซึ่งขายเครื่องสำอาง น้ำหอม โดยมีเจนนิเฟอร์ โลเปซ เป็นนางแบบนั้น มีวิธีเลี่ยงโดยการโฟกัสแต่ที่หน้าของนักร้องสาวเท่านั้น ขณะที่โฆษณาในประเทศอื่นจะเปิดเผยเนื้อตัวและดูเซ็กซีกว่านี้

พลังซื้อของผู้หญิง
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า โฆษณากว่าครึ่งหนึ่งที่เผยแพร่อยู่ในสื่อต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาหรับมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิง ข้อเท็จจริงนี้ยืนยันว่า ในวัฒนธรรมนี้ผู้หญิงก็ยังเป็นผู้ซื้อที่มีอิทธิพลสูง พวกเธอไม่เพียงแต่มีอำนาจตัดสินใจซื้อข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน เช่น อาหาร ของใช้ของลูก และเครื่องเรือน แต่ยังมีอำนาจซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างน้ำหอมและอัญมณีต่างๆ ด้วย เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะแม้จะทำงานแล้ว แต่ผู้หญิงอาหรับจะไม่แยกจากบ้านพ่อแม่จนกว่าจะแต่งงาน พวกเธอจึงไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ผู้หญิงในส่วนอื่นของโลกต้องรับผิดชอบ แม้เมื่อแต่งงานไปแล้ว ก็มีแนวโน้มว่าผู้หญิงจะไม่ต้องนำรายได้มาหารค่าใช้จ่ายในบ้านกับสามี เมื่อมีเงินเก็บสะสมไว้มาก ผู้หญิงอาหรับจึงจับจ่ายใช้สอยได้อย่างเต็มที่


ไม่ต้องการข้อมูลเชิงลึก
ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งของโฆษณาในชาติ GCC คือ การให้ข้อมูลเชิงลึก และการเสนอข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ โฆษณาในประเทศอาหรับมักจะขายกันตรงๆ ไม่เน้นข้อมูลเชิงลึก แม้แต่สินค้าเทคโนโลยีอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโทรศัพท์มือถือ ก็ยังเน้นแต่แบรนด์และวิถีชีวิตที่สื่อถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ผู้บริโภคต้องไปขอจากจุดที่วางขายสินค้านั้นๆ สำหรับการให้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบนั้น ไม่เหมาะกับตลาดอาหรับอย่างยิ่ง เพราะผู้บริโภคในส่วนนี้ต้องการความเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตัวมากกว่าเรื่องอื่น ผู้ซื้อไม่ค่อยสนใจปัจจัยเรื่องราคา ดังนั้น การโฆษณาว่าสินค้าของคุณ "ถูกกว่า" หรือ "คุ้มกว่า" จึงไม่ค่อยได้ผล นอกจากนี้ชาวอาหรับยังถือว่าการโฆษณาโดยพูดถึงจุดด้อยของคู่แข่งตรงๆ นั้นเป็นเรื่องไม่สมควรและอาจจะไร้จรรยาบรรณด้วยซ้ำ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่นักโฆษณาทั้งหลายต้องจำไว้ให้ดี

แฟชั่น เครื่องแต่งกาย
สินค้าที่จำเป็นต้องปรับรายการสินค้ามากที่สุดคือสินค้าประเภทแฟชั่นเครื่องแต่งกาย โดยเฉพาะเสื้อผ้าผู้หญิง ผู้ซื้อในชาติอาหรับต้องการเสื้อผ้าน้ำหนักเบา ออกแบบดี โดยต้องเป็นเสื้อแขนยาวและกระโปรงยาว ปกปิดร่างกายได้มิดชิด นอกจากนี้ ความต้องการอีกอย่างหนึ่งคือต้องมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี เนื่องจากผู้ซื้อกลุ่มใหญ่และสำคัญที่สุดในตลาด GCC คือกลุ่มสาววัยรุ่น การมีสินค้าใหม่ ทันสมัยจึงสำคัญมาก (เพราะสตรีที่มีอายุจะแต่งกายตามประเพณีมากกว่า) ตัวอย่างหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการทำตลาดด้วยการปรับรายการสินค้าคือ Zara

Zara กับความสำเร็จในตลาดอาหรับ
Zara เป็นแบรนด์สัญชาติสเปนที่มีสินค้ากระจายอยู่ในตลาดชั้นนำทั่วโลก ปัจจุบันมีร้านสาขากว่า 650 แห่ง ในกว่า 50 ประเทศ แบรนด์นี้มีชื่อเสียงเรื่องเสื้อผ้าทันสมัย ราคาสมเหตุสมผล จุดแข็งคือ การใช้ดีไซน์เนอร์ในวัยยี่สิบซึ่งเป็นช่วงอายุเดียวกันกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ ในแต่ละปี ดีไซเนอร์เหล่านี้จะออกแบบเสื้อผ้าใหม่ๆ กว่า 40,000 แบบ ซึ่งจะถูกนำไปผลิตแบบละ 10,000 ชิ้น เพื่อป้อนตลาดทั่วโลก การที่ Zara ผลิตเสื้อผ้าแบบละไม่มากเกินไป ทำให้สามารถทดสอบตลาดได้มากขึ้นโดยมีความเสี่ยงน้อยลง
การที่ Zara มีแบบเสื้อผ้าใหม่จำนวนมากในแต่ละปีสอดคล้องกับความต้องการของผู้ซื้อในกลุ่มประเทศ GCC พอดี ผู้ซื้อหลักในกลุ่มประเทศนี้เป็นวัยรุ่นซึ่งตรงกับกลุ่มเป้าหมายของ Zara ด้วย ในจำนวนแบบเสื้อนับหมื่นแบบ ร้าน Zara ในกลุ่มประเทศ GCC สามารถเลือกเสื้อเชิ้ตแขนยาวและกระโปรงยาวหลากหลายแบบเข้ามาวางขายมากกว่าสาขาใดในโลก